การดูแลตนเองและช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของชุมชน

การดูแลตนเองและช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของชุมชน

ในอดีตที่ผ่านมา หลายท้องถิ่นเกิดปัญหารอบด้าน แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นปัญหาสุขภาพ ที่หลายพื้นที่ ประชากรต้องพบกับความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย ด้วยสาเหตุหลายหลายปัจจัย ทั้งขยะล้นเมือง อาหารไม่ปลอดภัย ผู้สูงอายุและคนพิการขาดคนดูแล เยาวชนมีปัญหา ไม่มีหลักประกันในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน จึงทำให้หน่วยงานรัฐด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหา โดยกำหนดแผนงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายและเป้าหมายในการทำงานของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และช่วยเหลือตัวเองในประเด็นปัญหาสุขภาพ

"ระบบสุขภาพชุมชน" หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันและทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในชุมชน โดยความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยตรงโดยพยายามจัดวางเครื่องมือซึ่งมีโครงสร้างหลักเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระบบการจัดการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ระบบการดูแลตนเองและช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของชุมชน โดยกลุ่มคนต่างๆ ในชุมชนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องเช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เด็กและสตรี ที่จะต้องมีระบบการดูแลฉุกเฉิน ระบบสวัสดิการ เพื่อการดูแลในด้านต่างๆ มีกลุ่มอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้

ทั้งนี้ 4 ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของแผนงานประกอบด้วย 1.การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยมีเป้าหมายในการสร้างตำบลต้นแบบ และตำบลเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง สามารถตอบสนองต่อปัญหาของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับพื้นที่อื่นๆรวมถึงวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และชุดประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในแต่ละพื้นที่ 3.การสังเคราะห์ทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้ในระดับต่างๆ และขยายผลในระดับนโยบาย พัฒนานโยบายเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ขับเคลื่อนสังคมและ 4.ขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดการรวมตัวของพื้นที่ตำบลต้นแบบในลักษณะเครือข่ายการเรียนรู้ และสร้างกระบวนการในการเกิดการขยายเครือข่าย เพื่อให้เกิดค่านิยมสุขภาวะชุมชนคือเป้าหมายและคุณค่าของการพัฒนาพิธีลงนาม MOU พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับวิธีปฏิบัติงาน ด้วยความคิดพื้นฐานที่ว่าทุกที่มีต้นทุนอยู่แล้ว การทำงานจึงเน้นสร้างและเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยจะทำงานจากชุดข้อมูลสุขภาพของชุมชน จากพื้นที่จริง โดยใช้คนทำงานจริงเป็นคนต้นแบบ อาทิ ผู้นำองค์กร กลุ่มแกนนำ กลุ่มชมรมต่างๆ กลุ่มอาสาสมัคร โดยใช้การพูดคุย เวทีประชาคมหมู่บ้าน หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ซึ่งผลลัพท์ที่เราต้องการในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คือชุมชนจะต้องเข้มแข็ง เกิดระบบในการดูแลผู้สูงอายุ ระบบในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ระบบของการดูแลฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ พร้อมทั้งเกิดระบบเฝ้าระวังโรคและภาวะทางสังคม รวมถึงการสร้างระบบในการดูแลผู้ด้อยโอกาส ระบบสวัสดิการชุมชน การจัดการทรัพยากรชุมชนและสถาบันการเงินชุมชน

โดยพื้นที่ต้นแบบที่ สพช. และภาคีเครือข่ายได้เข้าไปร่วมสร้างกระบวนการในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งนั้นกระจายไปทุกภูมิภาค อาทิ ภาคเหนือที่ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออก ที่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ภาคใต้ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือพื้นที่ ต.โคกสี จ.กาฬสินธุ์ และ ต.เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยพื้นที่เหล่านี้คือพื้นที่ตำบลพี่เลี้ยง ซึ่งหวังว่าต้นทุนของแต่ละพื้นที่จะกลายเป็นฐานความรู้ และกระจายการพัฒนาระบบสุขภาพสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป โดยเบื้องต้นได้ตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปี จะมี 600 ตำบล ที่ประชาชนอยู่ดีมีสุข พึ่งตนเองได้ ไม่มีหนี้นอกระบบ ชุมชนจัดการสุขภาพตนเองได้ ดูแลกันเองได้ มีศักดิ์ศรี มีข้อตกลงร่วมกัน มีภาพอนาคตร่วมกัน และมีข้อมูลที่รู้เท่าทัน พร้อมทั้งเกิดการจัดการทรัพยากรภายในและเกิดการจัดการความรู้ ต่อรอง กับกลไกภายนอก รวมถึงเกิดการรวมตัว รวมกลุ่ม ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆพร้อมกันนี้ประชาชนจะต้องมีความรู้ ความสามารถดูแลตนเองได้ เลือกใช้บริการที่เหมาะสม บริหารการกินเพียงพอ คิดเป็นทำเป็น มีส่วนร่วม และมีบทบาทในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

ติดตามข่าวสารอัพเดตล่าสุดได้ที่: have-a-look ข่าวสารท้องถิ่นทั่วไทยอัพเดตไว


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 แบรนด์กระเป๋าสะพายข้างจากญี่ปุ่น ดูดี ใช้ได้ทุกวัน

เริ่มต้นการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองที่บ้าน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

การออกแบบภายใน New ORA Good Cat รุ่น PRO และ ULTRA