ปัญหาหากคนสนิทมาขอยืมเงิน เราควรจะทำอย่างไร?

ปัญหาหากคนสนิทมาขอยืมเงิน เราควรจะทำอย่างไร?

เราเชื่อว่าหลายๆ คนต้องพบเจอกับปัญหานี้อย่างแน่นอน และเป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจกันเลยทีเดียวเพราะไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนสนิท ญาติพี่น้องมาขอยืมเงิน บางคนก็ไม่รู้จะปฏิเสธได้แบบไหนดีถึงจะไม่ทำให้เสียความสัมพันธ์นั้นๆ ด้วยเรื่องของการยืมเงิน การไม่ให้ยืมเงิน ใช่ว่าหมายถึงไร้น้ำใจเมื่อคนใกล้ชิดเดือดร้อน แต่ขึ้นชื่อว่า “เงิน” มักไม่เข้าใครออกใคร บางครั้งเมื่อเราเอื้อเฟื้อด้วยความจริงใจแต่ไร้วี่แววได้คืน จึงเสียความรู้สึกที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง และน่าเสียดายความสัมพันธ์ที่เคยมีมาในอดีต เพราะหลายครั้งทำให้คนเราตัดญาติขาดเพื่อนกันไปเลย เพื่อรักษาบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นตั้งแต่แรก ควรตั้งกติกากับตัวเองและผู้อื่นให้ชัดเจนว่า ถ้ามีคนสนิทที่รักและนับถือกันมากมาขอยืมเงิน เราควรจะทำอย่างไร

1. เช็กอาการผู้ที่จะมายืมเงิน

ต้องสังเกตอารมณ์ที่ผิดแปลกไปว่า มีอาการของคำว่า “เยอะ” มากกว่าระดับปกติหรือไม่ เช่น พูดอ้อมโลกแต่ไม่ยอมหยุดสนทนา หรือ โทรมาหาถี่ได้ถี่อีกเพื่อจะพูดอะไรบางอย่าง บางกรณีก็มาพร้อมเรื่องเศร้าระบายพรั่งพรูออกมาว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต และตบท้ายตามสูตรด้วยการขอยืมเงิน หากเจอแบบนี้ให้รับฟังด้วยเหตุผล หนักแน่นที่เรื่องราว พยายามอย่าให้องค์ประกอบดราม่ามาสั่นคลอนจิตใจ

2. ความสัมพันธ์มีโอกาสเป็นศูนย์

ถ้ามีคนสนิท ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนมาขอยืมเงิน ทันทีที่ๆ ให้เงินไป ทำใจรับความเสี่ยงเรื่องความสัมพันธ์ไว้เลย เพราะอนาคตไม่แน่นอนว่าจะได้คืนเงินครบหรือไม่ และยังต้องคอยหวาดระแวงทวงถามกันให้ลำบากใจ สร้างความหงุดหงิด เป็นจุดเริ่มความแตกแยกเมื่อคืนล่าช้า ผัดผ่อน หรือหนีหาย ทุกครั้งที่มีคนมายืมเงิน ควรตั้งสติ อย่าใจร้อนรีบตัดสินใจ และชั่งน้ำหนักให้ดีว่าพร้อมเสี่ยงสูญเสียความสัมพันธ์กับคนๆ นั้นหรือไม่

3. ให้ไปเลยแต่พอสมเหตุสมผล

เพราะเชื่อว่าคนย่อมเดือดร้อนจริงยิ่งในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ แต่หากจะให้ยืม ควรเป็นจำนวนที่พอเหมาะพอดีในแบบที่ตัวเราไม่เดือดร้อน อาจไม่ได้ตอบสนองเงินทั้งหมดที่เขาต้องการ และให้คิดว่าเป็นการให้ครั้งเดียวเท่านั้น อย่างน้อยก็เป็นเกราะป้องกันการยืมครั้งต่อๆ มา หรือถ้ามายืมอีกก็ต้องใจแข็ง อย่าให้เป็นความเมตตาสร้างข้อผิดพลาดเรื้อรังดีกว่า

4. ให้ยืมแบบมีข้อแลกเปลี่ยนชัดเจน

ให้ยืมหรือช่วยเหลือใช้หนี้บนข้อแลกเปลี่ยนที่มีการทำสัญญาอย่างจริงจัง เช่น สัญญาต่างตอบแทน โดยอาจใช้วิธีการแลกว่าสามารถทำงานอะไรเพื่อแลกกับเงินก้อนนี้ หรือดูว่าผู้ที่ต้องการใช้เงินมีทรัพย์สินอะไรมาขายเพื่อแลกเป็นเงินก้อน หรือทำเป็นสัญญาเงินกู้ที่นำทรัพย์สินมาจำนำ จดจำนอง หรือเอามาค้ำประกันหนี้ โดยในสัญญาต้องระบุดอกเบี้ย และเบี้ยปรับด้วย เพราะถ้ามีการผิดเงื่อนไขพร้อมยึดทรัพย์สินทันที

5. ช่วยเหลือแบบอื่น หรือหาต้นเหตุของหนี้

การให้ยืมเงินเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากอยากช่วยเขาแบบที่เราก็รอดด้วย ลองมานั่งหาสาเหตุก่อหนี้ ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้ไหม เคลียร์ให้ชัดกับปัญหาโลกแตก ตรวจสอบว่าต้นตอปัญหาอยู่ที่ไหน เพราะคนนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง มักมองเห็นหรือสะท้อนมุมมองที่ชัดเจนกว่าคนที่ตกอยู่ในวงล้อมปัญหา หรืออาจเสนอการช่วยแบบที่เราไม่เสียเงิน เช่น หาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพื่อไม่ให้เงินทองขาดมือ

ติดตามข่าวสารอัพเดตล่าสุดได้ที่: amp-accountants รอบรู้เรื่องการเงิน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 แบรนด์กระเป๋าสะพายข้างจากญี่ปุ่น ดูดี ใช้ได้ทุกวัน

เริ่มต้นการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองที่บ้าน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

การออกแบบภายใน New ORA Good Cat รุ่น PRO และ ULTRA